เมนู

เทพ 3 เหล่า


เทพ 3 เหล่า คือ สมมติเทพ (เทวดาโดยสมมติ) 1 อุปปัตติเทพ
(เทวดาโดยกำเนิด) 1 วิสุทธิเทพ (เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ) 1 ชื่อว่าเทพ
ในคำว่า ปุพฺพเทวา นี้. บรรดาเทพ 3 จำพวกเหล่านั้น กษัตริย์ผู้เป็น
พระราชา ชื่อว่า สมมติเทพ. เพราะว่า กษัตริย์ผู้เป็นพระราชาเหล่านั้น
ที่ชาวโลกเรียกกันว่า เทพ (และ) เทพี เป็นผู้ทรงข่มและทรงอนุเคราะห์
ชาวโลกได้เหมือนเทพเจ้า. เหล่าสัตว์ที่อุบัติขึ้นในเทวโลก ตั้งแต่เทพชั้น
จาตุมมหาราชิกา จนถึงภวัคคพรหม ชื่อว่า อุปปัตติเทพ. พระขีณาสพ
ชื่อว่า วิสุทธิเทพ เพราะหมดจดจากกิเลสทั้งมวล. ในข้อนั้นมีอรรถพจน์
ดังต่อไปนี้. เหล่าสัตว์ชื่อว่าเทพ เพราะเล่น, สนุกสนาน, เฮฮา, รุ่งเรื่องอยู่
และชนะฝ่ายตรงข้าม.
บรรดาเทพ 3 จำพวกเหล่านั้น วิสุทธิเทพประเสริฐกว่าเทพทุกเหล่า.
วิสุทธิเทพเหล่านั้นมุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และการ
เกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่คำนึงถึงความผิดที่
พาลชนทำไว้เลย ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข โดยการ
ประกอบพรหมวิหารธรรมตามที่กล่าวแล้ว และนำความที่สักการะมีผลมากและ
อานิสงส์มากมายมาให้ชนเหล่านั้น เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ฉันใด แม้
มารดาบิดาทั้งหลาย ก็เช่นนั้น เหมือนกัน มุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ และการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่
คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลาย เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม ปฏิบัติอยู่
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพราะได้พรหมวิหารทั้ง 4 อย่าง
โดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว นำมาซึ่งความที่อุปการะที่บุตรทำแล้วในตนให้เป็น
อุปการะมีผลานิสงส์มากมาย. และมารดาบิดาเหล่านั้นเป็นเทพมาแต่ต้นทีเดียว

เพราะมีอุปการะแก่บุตรเหล่านั้น ก่อนกว่าเทพทั้งมวล. เพราะเหตุนี้ บุตรเหล่านั้น
รู้จักเทพเหล่าอื่นว่าเป็นเทพ ให้เทพเหล่านั้นพอใจ เข้าไปนั่งใกล้เทพเหล่านั้น
ครั้นรู้วิธีให้เทพพอใจแล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น ก็ได้ประสบผลของข้อปฏิบัตินั้น
ด้วยอำนาจของมารดาบิดาเหล่านั้นก่อน ฉะนั้น เทพเหล่าอื่นนั้น จึงชื่อว่า
เป็นปัจฉาเทพ (เทพองค์หลัง). ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปุพฺพเทวา นี้ เป็นชื่อของมารดาบิดาทั้งหลาย.
บทว่า ปุพฺพาจริยา ได้แก่ เป็นอาจารย์คนแรก อธิบายว่า มารดา
บิดาเมื่อจะให้ลูกสำเหนียก ก็ให้เรียนให้สำเหนียกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ว่าจงนั่งอย่างนี้
จงเดินอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้
คนนี้เจ้าควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ชาย น้องชาย คนนี้ควรเรียกพี่สาว
น้องสาว สิ่งนี้ควรทำนะ สิ่งนี้ไม่ควรทำนะ ที่โน้นควรเข้าไปนะ ที่โน้นไม่
ควรเข้าไปนะ ดังนี้. ต่อมา แม้อาจารย์อื่น ๆ จึงจะให้ศึกษาศิลปะ มีอาทิอย่างนี้
คือ การนับนิ้วมือ อาจารย์อื่น ๆ ให้สรณะ ให้ตั้งอยู่ในศีล ให้บรรพชา ให้เรียน
ธรรม ให้อุปสมบท และให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. ดังนั้น อาจารย์
เหล่านั้นทั้งหมด จึงชื่อว่าเป็นปัจฉาจารย์ (อาจารย์คนหลัง) ส่วนมารดาบิดา
ชื่อว่า เป็นอาจารย์ก่อนกว่าทุกคน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปุพฺพาจริยา นี้ เป็นชื่อของมารดาบิดา
ทั้งหลาย ดังนี้.
บทว่า อาหุเนยฺยา ความว่า สิ่งของชื่อว่า อาหุนะ เพราะเขาต้อง
นำมาบูชา คือผู้หวังผลวิเศษต้องนำมาจากที่ไกลแล้ว จึงถวายในท่านผู้มีคุณ
ทั้งหลาย. คำว่า อาหุนะ นี้ เป็นชื่อของข้าว น้ำ และผ้าสำหรับปกปิดกาย

เป็นต้น. มารดาบิดาย่อมควรซึ่งของควรบูชานั้น เพราะเป็นนาสำหรับปลูกฝัง
อุปการธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาหุเนยยะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า อาหุเนยยะ นี้
เป็นชื่อของมารดาบิดาทั้งหลาย.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเหตุ ในภาวะที่มารดาบิดาเหล่านั้นเป็นพรหม
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ตํ กิสฺส เหตุ
พหุการา
(ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีอุปการะมาก).
บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ มีอรรถาธิบายว่า ถ้าหากมีคำถามว่า เพราะ
เหตุไร คำว่า พฺรหฺมา เป็นต้นนั้น จึงเป็นชื่อของมารดาบิดา. บทว่า
พหุการา ได้แก่ มีอุปการะมาก. บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ผู้ถนอม
กล่อมเกลี้ยง คือเลี้ยงดูชีวิต. อธิบายว่า ชีวิตของบุตรทั้งหลาย มารดาบิดา
ถนอมคือเลี้ยงดู ได้แก่สืบต่อ หมายความให้เป็นไปคือให้ถึงพร้อม โดยการ
ติดพันกันไปเนือง ๆ. บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูโดยให้ดื่มเลือดในหทัย
ให้มือเท้าเจริญเติบโตขึ้น. บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า
ขึ้นชื่อว่า การเห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ เกิดมีแก่บุตรทั้งหลาย
ได้ เพราะอาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตรเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นผู้
มีอุปการะมาก (และ) เหตุแห่งความเป็นพรหมเป็นต้น ด้วยประการดังนี้
ที่เป็นเหตุให้บุตรไม่สามารถจะทำการตอบแทน (คุณ) มารดาบิดาให้สิ้นสุดได้
ด้วยโลกิยอุปการะ โดยปริยายไร ๆ เลย. เพราะว่า ถ้าหากบุตรตั้งใจว่า เรา
จักทำการตอบแทนอุปการคุณมารดาบิดา แล้วพยายามลุกขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ให้มารดาสถิตอยู่บนบ่าขวา ให้บิดาสถิตอยู่บนบ่าซ้าย มีอายุยืนหนึ่งร้อยปี
ก็ประคบประหงมท่านตลอดเวลาหมดทั้งร้อยปี ทำนุบำรุงท่านด้วยปัจจัย 4
และด้วยเครื่องอบ การนวดฟั้น การให้อาบน้ำ และการดัดกายเป็นต้น ตาม
ที่ท่านชอบใจ ไม่รังเกียจแม้แต่มูตรและกรีส (อุจจาระ) ของท่านเหล่านั้นไซร้.
ด้วยการปรนนิบัติถึงเพียงนี้ ก็ไม่ชื่อว่า บุตรได้ทำการตอบแทน
มารดาบิดา เว้นแต่จะให้ท่านดำรงอยู่ในคุณความดีพิเศษ มีสัทธาเป็นต้น.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราตถาคตไม่เรียกว่า เป็นการตอบแทนที่ดีแก่ท่านทั้ง 2 นั้น ท่านทั้ง 2 นั้น
คือใคร คือมารดาและบิดา ภิกษุทั้งหลาย (ถ้า) บุคคลจะเอาบ่าข้างหนึ่งแบก
มารดาไว้ เอาอีกข้างหนึ่งแบกบิดาไว้ มีอายุยืนได้ร้อยปี มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ทั้งปรนนิบัติท่าน ด้วยการอบ การนวด การให้อาบน้ำ และการดัดกาย
ท่านทั้ง 2 และให้ท่านถ่ายมูตรและกรีสบนบ่านั้นนั่นเอง แต่หาได้ชื่อว่า
ปรนนิบัติหรือทำการตอบแทนคุณมารดาบิดาไม่เลย ภิกษุทั้งหลาย และจะ
สถาปนามารดาบิดาไว้ในไอศวรรยาธิปัตย์ราชสมบัติ ในพื้นมหาปฐพีนี้ ที่มี
รัตนะทั้ง 7 เพียงพอ ก็ไม่ชื่อว่า ปรนนิบัติหรือทำการตอบแทนคุณมารดา
บิดาได้เลย ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุทั้งหลาย เพราะมารดา
บิดามีอุปการะมาก เป็นผู้กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูบุตร แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุตรคนใดแลชักชวนมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่น
ให้ประดิษฐานอยู่ในสัทธาสัมปทา...ผู้ไม่มีศีล... ในสีลสัมปทา...ผู้ตระหนี่...
ในจาคสัมปทา ชักชวนท่านผู้ทรามปัญญาให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในปัญญา-
สัมปทา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย การปรนนิบัติเป็นอันบุตรได้
ทำแล้ว ได้ตอบแทนแล้ว และได้ทำให้ยิ่งแล้วแก่มารดาบิดาทั้งหลาย.

อนึ่ง พึงทราบพระสูตร ที่ให้สำเร็จความที่มารดาบิดาเป็นผู้มีอุปการะ
มากแก่บุตร มีอาทิอย่างนี้ว่า การบำรุงมารดาบิดา การสงเคราะห์บุตรและ
ภรรยา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบำรุงมารดาบิดา บัณฑิตบัญญัติ
ไว้ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า วุจฺจเร ได้แก่ เรียก
คือกล่าว. บทว่า ปชาย อนุกมฺปกา ความว่า มารดาบิดาบั่นทอนชีวิตผู้อื่น
บ้าง เลียสละสิ่งของ ๆ ตนบางสิ่งบางอย่างบ้าง ประคับประคองคุ้มครองประชา
(คือบุตร) ของตนไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เอ็นดู คืออนุเคราะห์
ประชาคือบุตร. บทว่า นมสฺเสยฺย ความว่า ไปยังที่บำรุงเช้าเย็น ทำความ
นอบน้อม ด้วยคิดว่า นี้เป็นนาบุญที่สูงสุดของเรา. บทว่า สกฺกเรยฺย ความว่า
พึงนบนอบด้วยสักการะ.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสักการะนั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า อนฺเนน
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเนน ความว่า ด้วยข้าวยาคู ข้าวสวย
และของขบเคี้ยว. บทว่า ปาเนน ความว่า ด้วยน้ำปานะ 8 อย่าง. บทว่า
วตฺเถน ความว่า ด้วยผ้านุ่งผ้าห่ม. บทว่า สยเนน ความว่า ด้วยที่นอนมีเตียง
ตั่ง ฟูกและหมอนเป็นต้น . บทว่า อุจฺฉาทเนน ความว่า ด้วยเครื่องอบที่
กำจัดกลิ่นเหม็นแล้วทำให้มีกลิ่นหอม. บทว่า นหาปเนน ความว่า ด้วยการ
ให้อาบน้ำ โดยใช้น้ำอุ่นรดในหน้าหนาว และใช้น้ำเย็นรดในหน้าร้อน. บทว่า
ปาทานํ โธวเนน จ ความว่า ด้วยการล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น และ
ด้วยการชโลมด้วยน้ำมัน.
บทว่า นํ ในคำว่า ตาย นํ ปริจริยาย นี้ เป็นเพียงนิบาต.
(บทว่า ปาริจริยาย) ได้แก่ ด้วยการบำรุงบำเรอ ดังที่กล่าวมาแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ปาริจริยาย ความว่า ด้วยการทะนุบำรุงด้วยวิธี 5 อย่าง มีการเลี้ยงดู
การทำกิจให้ และการดำรงวงสกุลเป็นต้น . สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า (ตะวันออก)
บุตรควรทะนุบำรุงด้วยสถาน 5 คือ
1. ท่านได้เลี้ยงเรามาแล้ว เราจักเลี้ยงดูท่านเหล่านั้น
2. เราจักทำกิจของท่าน
3. เราจักดำรงวงศ์ตระกูลไว้
4. เราจักปฏิบัติตนเป็นผู้รับมรดก
5. เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เราจักเพิ่มทักษิณาทานให้
ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ที่บุตรทะนุบำรุงด้วย
สถาน 5 เหล่านี้แล้วแล จะอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน 5 คือ 1. ห้ามบุตรจาก
ความชั่ว 2. ให้บุตรตั้งมั่นอยู่ในความดี 3. ให้บุตรศึกษาเล่าเรียน 4. หา
ภรรยาที่เหมาะสมให้ 5. มอบทรัพย์สมบัติให้ในสมัย. อีกอย่างหนึ่ง บุตรคนใด
บำรุงมารดาบิดาโดยทำให้เลื่อมใสอย่างยิ่งในวัตถุทั้ง 3 (พระรัตนตรัย) ให้ดำรง
อยู่ในศีล หรือให้ประกอบในการบรรพชา บุตรนี้ พึงทราบว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ
บรรดาผู้บำรุงมารดาบิดาทั้งหลาย.
พระพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็การบำรุงนี้นั้น เป็นเหตุ
นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขในโลกทั้ง 2 มาให้แก่บุตรจึงไว้ตรัสไว้ว่า
คนทั้งหลาย จะพากันสรรเสริญเขา
ในโลกนี้ที่เดียว เขาละโลกนี้ไปแล้ว ก็
ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ ความว่า ในโลกนี้. อธิบายว่า
มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย จะสรรเสริญ คือ ยกย่อง ได้แก่ ชมเชย บุคคล
ผู้อุปรากมารดาบิดา ด้วยการบำรุงบำเรอท่าน และเอาเขาเป็นทิฏฐานุคติ
(เป็นเยี่ยงอย่าง) แม้ตนเอง ก็ปฏิบัติในมารดาบิดาของตนอย่างนั้นแล้ว ย่อม
ประสบบุญมากมาย. บทว่า เปจฺจ ความว่า ผู้บำรุงมารดาบิดาไปสู่ปรโลก
แล้ว สถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมจะรื่นเริงบรรเทิงเพลิดเพลินใจ ด้วยทิพยสมบัติ
ทั้งหลาย.
จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ 7

8. พหุการสูตร


ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก


[287] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มี
อุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้เธอทั้งลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์
และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจ
อามิสทานและธรรมทาน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อต้องการสลัดโอฆะ
เพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยประการอย่างนี้.